อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาหลัก
รองศาสตราจารย์ ดร. ชลวิช นัทธี
ภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ และการสื่อสาร สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รายวิชาเป็นหลักสูตรส่งเสริมการพัฒนาประเทศไทยให้สามารถแข่งขันกับเวทีโลกได้ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดิจิทัล และการปฏิรูปอุตสาหกรรมในยุคดิจิทัล ให้เกิดการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์การ การบริหารจัดการ ภาคการผลิต ภาคการเกษตร และภาคบริการ ที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยเพิ่มผลผลิต และลดต้นทุนค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งกลไกสำคัญอย่างหนึ่งคือ ทรัพยากรมนุษย์ที่มีทักษะ และความสามารถสูงเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งที่จะช่วยนำพาองค์การ สังคม และประเทศชาติไปสู่เป้าหมายเหล่านั้น ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งศักยภาพการทำงานของมนุษย์ในยุคดิจิทัล ซึ่ง AI ไม่สามารถทำหน้าที่แทนได้ คือ “ทักษะทางสังคม” เป็นพฤติกรรมภายใน ได้แก่ คุณลักษณะด้านอารมณ์ ความรู้สึก การมองเห็นคุณค่า แรงจูงใจ ทัศนคติ ความเชื่อ คุณธรรม ที่มีหล่อหลอมเป็นนิสัยและบุคลิกภาพอยู่ในตัวบุคคล ในทางธุรกิจใช้คำว่า “Soft Skills” เป็นการใช้หัวใจในการทำงานให้ประสบความสำเร็จโดยต้องมีกระบวนการพัฒนาและจูงใจให้เกิดพฤติกรรมภายในอย่างต่อเนื่อง ซึ่งกลุ่มอาชีพต่าง ๆ จะต้องได้รับการพัฒนา Reskill, Upskill และ New Skill ภายใต้ยุทธศาสตร์ ที่ 5 การปรับเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัล (Digital Transformation) ในการสนับสนุนเพื่อการประกอบอาชีพของประชาชนไทยให้ประสบความสำเร็จ สร้างคุณค่าและเพิ่มมูลค่าให้กับเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดด ดังความเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มอาชีพกับทักษะทางสังคม
เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนปฏิบัติการด้านพัฒนากำลังคนให้พร้อมเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 – 2570) ของสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนากำลังคนให้พร้อมเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล มุ่งเน้นการพัฒนากำลังคนดิจิทัล (Digital Workforce) โดยส่งเสริมให้กลุ่มคนทำงานในทุกสาขาอาชีพซึ่งถือเป็นกำลังสำคัญในการสร้างผลิตภาพการผลิต (Productivity) การพัฒนาทักษะและเพิ่มเติมทักษะ (Reskill and Upskill) เป็นทักษะที่ตลาดต้องการ ผ่านระบบการศึกษาแบบเปิดโดยมีการรับรองมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับ รวมถึงเตรียมความพร้อมให้ประชาชนทั่วไปมีความรู้และทักษะด้านดิจิทัลอย่างทัดเทียมกัน เพื่อให้มีกำลังคนที่มีประสิทธิภาพและได้รับการยอมรับจากภาคเอกชนเข้ามารองรับการทำงานในตลาดแรงงาน นอกจากนี้ ยังมีการสร้างผู้นำการพัฒนาด้านดิจิทัลและสนับสนุนทุนวิจัย ในด้านเทคโนโลยีดิจิทัลขั้นสูงอย่างต่อเนื่องเพื่อช่วยในการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพของประเทศในด้านเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล
หลักสูตรการพัฒนาทักษะทางสังคมที่จำเป็นในยุคดิจิทัลเพื่อรองรับการพัฒนาแห่งอนาคต เป็นการพัฒนาหลักสูตรภายใต้โครงการศึกษาและพัฒนาทักษะทางสังคม (Soft Skills) และทักษะดิจิทัล (Digital Skills) เพื่อรองรับการพัฒนาแห่งอนาคต ภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ มีทักษะทางสังคมหลักจำนวน 5 ทักษะ ได้แก่ (1) ภาวะผู้นำ (2) การคิดแบบเติบโต (3) ความฉลาดทางอารมณ์ (4) การเรียนรู้ตลอดชีวิต (5) ทีมงานและความร่วมมือ และทักษะย่อยจำนวน 21 ทักษะ
จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ทั้งหมด 10 ชั่วโมงเรียนรู้ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 6 ชั่วโมง 30 นาที)
1. ผู้เข้ารับการอบรมมีองค์ความรู้ความเข้าใจในเรื่องทักษะทางสังคมที่จำเป็นในยุคดิจิทัลในระดับพื้นฐานขึ้นไป เช่น ด้านภาวะผู้นำ ด้านการคิดแบบเติบโต ด้านความฉลาดทางอารมณ์ ด้านการเรียนรู้ตลอดชีวิต และด้านทักษะทีมงานและความร่วมมือ เพื่อรองรับการพัฒนาแห่งอนาคตได้
2. ผู้เข้ารับการอบรมสามารถพัฒนาทักษะทางสังคมของตนเองที่จำเป็นในยุคดิจิทัลในระดับพื้นฐานขึ้นไป เช่น ด้านภาวะผู้นำ ด้านการคิดแบบเติบโต ด้านความฉลาดทางอารมณ์ ด้านการเรียนรู้ตลอดชีวิต และด้านทักษะทีมงานและความร่วมมือ เพื่อรองรับการพัฒนาแห่งอนาคตได้
3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีแนวทางการประยุกต์ใช้องค์ความรู้และทักษะที่อบรม เพื่อรองรับการพัฒนาแห่งอนาคตได้
บุคคลผู้สนใจทั่วไป ในกลุ่มอาชีพ ดังนี้ 1. กลุ่มอาชีพไอซีที 2. กลุ่มอาชีพเกษตรกร 3. กลุ่มค้าส่งและค้าปลีก 4. กลุ่มการผลิต 5. กลุ่มผู้ให้บริการที่พักแรม 6. กลุ่มการก่อสร้าง 7. กลุ่มบริหารราชการ 8. กลุ่มการขนส่ง 9. กลุ่มการศึกษา 10. กลุ่มบริการอื่น ๆ 11. กลุ่มสุขภาพ หรือ ประชาชนทั่วไป ทุกเพศ ทุกวัย ที่สนใจสามารถเรียนได้
เข้าแบบทดสอบระหว่างเรียน และแบบทดสอบหลังเรียน
ผู้เรียนมีคะแนนรวมทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 75% ถือว่าผ่านเกณฑ์
รองศาสตราจารย์ ดร. ชลวิช นัทธี
ภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ และการสื่อสาร สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นายชัยพิพัฒน์ ศรีมณีชัย
หัวหน้างานวิจัยและพัฒนา สำนักพัฒนาเทคนิคศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
e-Mail softskill@siit.tu.ac.th
รายวิชา พัฒนาโดย สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
“สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org)
และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC ND”